บทความ

ประวัติความเป็นมาของดาวเรือง

รูปภาพ
         ดาวเรือง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Tagetes spp . ชื่อสามัญเรียกว่า : Marigolds มีชื่อภาษาถิ่น (ภาคเหนือ) เรียกว่า คำปูจู้ และชื่อเรียกทั่วไป เรียกว่า ดาวเรืองใหญ่ ดาวเรืองเป็นพืชในวงศ์ Compositae และจัดอยู่ใน Subfamily Tuliforae ต้นกำเนิดดาวเรืองมาจากประเทศเม็กซิโกและอเมริกาใต้ ต่อมามีคนนำเข้าไปปลูกในแถบประเทศยุโรป คนส่วนมากจะนำมาบูชาแท่นพระแม่มารี จึงได้เรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า Mary’s gold แล้วได้เพี้ยนมาเป็น Marigolds           พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงนำเมล็ดพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์มาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ทรงโปรดให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดลองปลูก ขยายพันธุ์ เพื่อแจกให้กับประชาชน ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ประจำพระองค์ ( รัชกาลที่ 9) เพราะมีสีเหลืองอร่ามที่ตรงกับสีวันคล้ายวันพระราชสมภพ ก็คือ วันจันทร์ ที่เปรียบเสมือนพระจริยวัตรที่เรียบง่าย พอเพียง ทรงบำเพ็ญแต่ความดีงาม พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ          ดอกดาวเรืองเป็นไม้ล้มลุก อายุไม่ถึง 1 ปี ปลูกขึ้นง่าย ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และในปัจจุบันประเทศไทยปลูกดาวเรืองกันมากบริเ

ชนิดของดาวเรือง

รูปภาพ
ดาวเรืองที่ปลูกทั่วไปในปัจจุบันมี 5 ชนิด ดังนี้           1. ดาวเรืองอเมริกัน ( Tagetes erecta ) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกา จะมีลักษณะลำต้นสูงประมาณ 10-40 นิ้ว มีดอกทรงกลม มีสีเหลือง สีส้ม สีทอง และสีขาว มีกลีบซ้อนกันแน่น มีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านดอกสั้น มีความแข็งแรงทนต่อโรคเหี่ยวได้ ออกดอกสม่ำเสมอ ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เตี้ย พันธุ์สูงปานกลาง และพันธุ์สูง               - พันธุ์เตี้ย มีความสูงประมาณ 14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ปาปาย่า และไพน์แอปเปิ้ล              - พันธุ์สูงปานกลาง มีความสูงประมาณ 16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล และไวกิ่ง              - พันธุ์สูง มีความสูงประมาณ 36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล และดับบลูน ภาพที่ 3 ดอกดาวเรืองอเมริกัน ( ที่มา : http://afmgroup.com/afmgroup/catalog/picture/MAR337-01-001.jpg)           2. ดาวเรืองฝรั่งเศส ( Tagetes patula ) มีลักษณะลำต้นสูง 12 นิ้ว ดอกสีเหลือง สีส้ม สีทอง และสีน้ำตาลอมแดง มีดอกขนาดประมาณ 1.5 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้จะช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพั

การขยายพันธุ์

รูปภาพ
การขยายพันธุ์จะมี 2 แบบ คือ การใช้เมล็ดและการปักชำ มีขั้นตอนการขยายพันธุ์ ดังนี้           1. การเพาะเมล็ด เมล็ดดาวเรืองมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเมล็ดไม้ดอกชนิดอื่นๆ มีรูปร่างยาวรี และมีหางด้วย การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจะทำได้ง่ายและคนส่วนมากจะนิยมใช้วิธีนี้กัน ภาพที่ 7 การเพาะเมล็ด ( ที่มา : https://www.thairath.co.th/media/ NjpUs24nCQKx5e1Bab9UqDQF0ouoRkHmJDt9bbDFqhe.jpg) วิธีการเพาะเมล็ด               1) นำเมล็ดมาเพาะในกระบะเพาะหรือถาดหลุม ซึ่งมีวัสดุเพาะ คือ กากมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 หรือแปลงเพาะที่มีดินร่วนซุยค่อนข้างละเอียด คราดดินให้ผิวดินเรียบสม่ำเสมอ               2) ทำร่องบนกระบะ เพาะหรือแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร               3) หยอดเมล็ดลงร่องห่างกัน 1-2 นิ้ว แล้วกลบแต่ละร่องด้วยวัสดุเพาะหรือดินละเอียดเพียงบางๆ               4) รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้มากไปอาจทำให้รากเน่าได้ เมล็ดดาวเรืองจะงอกภายใน 3-5 วัน จะเป็นต้นกล้า ภาพที่ 8 ต้นกล้า ( ที่มา

วิธีการปลูก

รูปภาพ
          ต้นกล้าต้องอายุไม่เกิน 15 วัน หรือมีใบจำนวน 2-3 คู่ จะมีการพัฒนาได้ดี การหาอาหารของรากจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนต้นกล้าที่มีอายุเกินไม่ควรย้ายเพราะระบบรากจะแผ่กระจายช้าด้วยอายุต้นที่แก่เกินไป ภาพที่ 9 ตัวอย่างวิธีการปลูก ( ที่มา : http://hort.ku.ac.th/ 2016/ images/marigold 9. png )           1. ขุดหลุมกว้างประมาณ 15 ซม.            2. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรต่ำ เช่น 10-20-10 หรือ 15-15-15 ใส่รองก้นหลุมประมาณ 1 ช้อนชา เกลี่ยดินกลบเม็ดปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง เพราะอาจทำให้ใบไหม้และต้นเหี่ยวตายได้           3. นำต้นกล้าที่มีอายุประมาณ 10-15 วัน (นับจากวันเพาะเมล็ด) โดยแยกต้นกล้าที่มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากช้ำ มาใส่หลุม หลุมละ 1 ต้น กลบดินให้เสมอกับใบเลี้ยงหรือสูงกว่าใบเลี้ยงเล็กน้อย           4. รดน้ำให้ชุ่ม ในช่วงแรกๆ รดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง หรือ เช้า-เย็น เพื่อไม่ให้ต้นดาวเรืองเหี่ยว           5. รอต้นดาวเรืองออกดอก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ แหล่งที่มา : กรมสงเสริมการเกษตร. ( 2545).

การดูแล

รูปภาพ
          1. การให้น้ำ ควรให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ดินชุ่มชื้น และในช่วงที่ดอกเริ่มบานไม่ควรรดน้ำโดนดอก เพราะจะทำให้ดอกที่ผลิบานนั้นมีคุณภาพไม่ดี และเป็นโรคได้ง่าย           2. การให้ปุ๋ย ดาวเรืองเป็นพืชอายุสั้น อายุการเจริญเติบโตเพียง 60-65 วัน ถึงตัดดอกขาย จึงควรใส่ปุ๋ยตามช่วงการเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้               - ช่วงเจริญเติบโตทางต้น คือ ช่วง 30 วันแรกนับจากเพาะเมล็ด ปุ๋ยที่ใช้คือปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพื่อเร่งให้ดาวเรืองเจริญเติบโตและแตกกิ่งให้เร็วที่สุด               - ช่วงออกดอก คือ ช่วงอายุ 30-45 วัน ดาวเรืองเริ่มมีตาดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 15-30-15 ถ้าไม่มีสามารถใช้สูตร 20-20-20 ได้ฝังลงดินห่างจากโคนต้น 1 คืบ ในอัตรา 1 ช้อนชาต่อต้น            3. การเด็ดยอด เป็นการเพิ่มผลผลิตที่ดีสำหรับผู้ที่ปลูกจำหน่าย โดยเด็ดส่วนยอดออกให้เหลือใบจริงติดไว้กับต้นเพียง 4 คู่ หรือ 8 ใบ เพื่อให้มีการแตกกิ่งข้างพร้อมๆกัน 8 กิ่ง วิธีการเด็ดยอด               1) เลือกต้นดาวเรืองที่มีอายุประมาณ 23-25 วัน เมื่อเลือกได้แล้ว ทำการเด็ดยอดโดยใช้มือรวบส่วนโ

การเก็บเกี่ยว

          ก่อนการตัดดอก ประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 15 ลิตร ฉีดไปที่ใบและก้าน เพื่อช่วยให้ก้านดอกดาวเรืองมีความแข็งแรงขึ้น และเมื่อถึงกำหนดตัดดอกควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุดจะทำให้ได้ก้านดอกมีขนาดยาว แหล่งที่มา : AGA AGRO. (2560). คู่มือเทคนิคการปลูกดาวเรืองตัดดอก . ค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2561, จาก              http://www.aga-agro.com/blog/read/164#.WqAa4m997IW. Satja Prasongsap. (2559). ดาวเรือง. ค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2561 , จาก   http://hort.ezathai.org/?p= 5446.

โรคและการป้องกันกำจัด

รูปภาพ
ภาพที่ 11 ดาวเรืองที่เป็นโรคเหี่ยว ( ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhBHLBP0MXzzbIpmJC5K7teq-lcdi1qXV4zpqoxHR2l0cUuwJ5653Hk1sPNMKZQQYeMnaSkdV4bkoojlnbhgYXmduRQD9bh-6SYsKi3PIazo4cyYDxJdZRJKjeKgwLZUb9u0cuoxh5CQY1o/s320/imagepost-20121118-161745.jpg)           1. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา จะเกิดกับดาวเรืองที่กำลังเริ่มบานจะมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ เช่น อาการเหี่ยวในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะมีอาการปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ดาวเรืองจะเหี่ยวทั้งต้นและตายในที่สุด                การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปสลับกับคาร์เบนดาซิม อัตราตามคำแนะนำบนฉลากสารเคมี และถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง ภาพที่ 12 ดาวเรืองที่เป็นโรคราแป้ง ( ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjLyKd-9gx6mUR0knj3pvfxUzOuQ5C6ikEF_2slEp3vJjuouGzI0ubNv2qyLPOkvTA63zU0lV4PF84jM57Te3ceCyoNF9SIy7tJ35hu3_2T5LsLcEbCxWFJMaoFEtU70vK3kZj3j-khDi-m/ s1600/DSCN0331_resize.JPG)           2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่

แมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

รูปภาพ
ภาพที่ 17 หนอนกระทู้หอม ( ที่มา : https://www.svgroup.co.th/wp-content/uploads/ 2017/09/% E 0% B 8% AB%E 0% B 8%99% E 0% B 8% AD%E 0% B 8%99% E 0% B 8%81% E 0% B 8% A 3% E 0% B 8% B 0% E 0% B 8%97% E 0% B 8% B 9% E 0% B 9%89% E 0% B 8% AB%E 0% B 8% AD%E 0% B 8% A 1% E 0% B 9%83% E 0% B 8%99% E 0% B 8%94% E 0% B 8% AD%E 0% B 8%81% E 0% B 8%94% E 0% B 8% B 2% E 0% B 8% A 7% E 0% B 9%80% E 0% B 8% A 3% E 0% B 8% B 7% E 0% B 8% AD%E 0% B 8%87. jpg)           1. หนอนกระทู้หอม จะทำลายดอกดาวเรืองที่กำลังจะเริ่มบาน หนอนเหล่านี้จะกัดกินดอกจนกลีบดอกร่วงเสียหาย              การป้องกันกำจัด พ่นสารเคมีเป็นจุดหรือพ่นรอบๆพื้นที่เสียหายและมีการตรวจสอบทุกระยะหากการทำลายยังมีอยู่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ภาพที่ 18 หนอนชอนใบ ( ที่มา : https://www.svgroup.co.th/wp-content/uploads/2017/09/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%A