บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

ชนิดของดาวเรือง

รูปภาพ
ดาวเรืองที่ปลูกทั่วไปในปัจจุบันมี 5 ชนิด ดังนี้           1. ดาวเรืองอเมริกัน ( Tagetes erecta ) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกา จะมีลักษณะลำต้นสูงประมาณ 10-40 นิ้ว มีดอกทรงกลม มีสีเหลือง สีส้ม สีทอง และสีขาว มีกลีบซ้อนกันแน่น มีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านดอกสั้น มีความแข็งแรงทนต่อโรคเหี่ยวได้ ออกดอกสม่ำเสมอ ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เตี้ย พันธุ์สูงปานกลาง และพันธุ์สูง               - พันธุ์เตี้ย มีความสูงประมาณ 14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ปาปาย่า และไพน์แอปเปิ้ล              - พันธุ์สูงปานกลาง มีความสูงประมาณ 16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล และไวกิ่ง              - พันธุ์สูง มีความสูงประมาณ 36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล และดับบลูน ภาพที่ 3 ดอกดาวเรืองอเมริกัน ( ที่มา : http://afmgroup.com/afmgroup/catalog/picture/MAR337-01-001.jpg)           2. ดาวเรืองฝรั่งเศส ( Tagetes patula ) มีลักษณะลำต้นสูง 12 นิ้ว ดอกสีเหลือง สีส้ม สีทอง และสีน้ำตาลอมแดง มีดอกขนาดประมาณ 1.5 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้จะช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพั

การขยายพันธุ์

รูปภาพ
การขยายพันธุ์จะมี 2 แบบ คือ การใช้เมล็ดและการปักชำ มีขั้นตอนการขยายพันธุ์ ดังนี้           1. การเพาะเมล็ด เมล็ดดาวเรืองมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเมล็ดไม้ดอกชนิดอื่นๆ มีรูปร่างยาวรี และมีหางด้วย การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจะทำได้ง่ายและคนส่วนมากจะนิยมใช้วิธีนี้กัน ภาพที่ 7 การเพาะเมล็ด ( ที่มา : https://www.thairath.co.th/media/ NjpUs24nCQKx5e1Bab9UqDQF0ouoRkHmJDt9bbDFqhe.jpg) วิธีการเพาะเมล็ด               1) นำเมล็ดมาเพาะในกระบะเพาะหรือถาดหลุม ซึ่งมีวัสดุเพาะ คือ กากมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 หรือแปลงเพาะที่มีดินร่วนซุยค่อนข้างละเอียด คราดดินให้ผิวดินเรียบสม่ำเสมอ               2) ทำร่องบนกระบะ เพาะหรือแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร               3) หยอดเมล็ดลงร่องห่างกัน 1-2 นิ้ว แล้วกลบแต่ละร่องด้วยวัสดุเพาะหรือดินละเอียดเพียงบางๆ               4) รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้มากไปอาจทำให้รากเน่าได้ เมล็ดดาวเรืองจะงอกภายใน 3-5 วัน จะเป็นต้นกล้า ภาพที่ 8 ต้นกล้า ( ที่มา

วิธีการปลูก

รูปภาพ
          ต้นกล้าต้องอายุไม่เกิน 15 วัน หรือมีใบจำนวน 2-3 คู่ จะมีการพัฒนาได้ดี การหาอาหารของรากจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนต้นกล้าที่มีอายุเกินไม่ควรย้ายเพราะระบบรากจะแผ่กระจายช้าด้วยอายุต้นที่แก่เกินไป ภาพที่ 9 ตัวอย่างวิธีการปลูก ( ที่มา : http://hort.ku.ac.th/ 2016/ images/marigold 9. png )           1. ขุดหลุมกว้างประมาณ 15 ซม.            2. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรต่ำ เช่น 10-20-10 หรือ 15-15-15 ใส่รองก้นหลุมประมาณ 1 ช้อนชา เกลี่ยดินกลบเม็ดปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง เพราะอาจทำให้ใบไหม้และต้นเหี่ยวตายได้           3. นำต้นกล้าที่มีอายุประมาณ 10-15 วัน (นับจากวันเพาะเมล็ด) โดยแยกต้นกล้าที่มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากช้ำ มาใส่หลุม หลุมละ 1 ต้น กลบดินให้เสมอกับใบเลี้ยงหรือสูงกว่าใบเลี้ยงเล็กน้อย           4. รดน้ำให้ชุ่ม ในช่วงแรกๆ รดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง หรือ เช้า-เย็น เพื่อไม่ให้ต้นดาวเรืองเหี่ยว           5. รอต้นดาวเรืองออกดอก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ แหล่งที่มา : กรมสงเสริมการเกษตร. ( 2545).

การดูแล

รูปภาพ
          1. การให้น้ำ ควรให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ดินชุ่มชื้น และในช่วงที่ดอกเริ่มบานไม่ควรรดน้ำโดนดอก เพราะจะทำให้ดอกที่ผลิบานนั้นมีคุณภาพไม่ดี และเป็นโรคได้ง่าย           2. การให้ปุ๋ย ดาวเรืองเป็นพืชอายุสั้น อายุการเจริญเติบโตเพียง 60-65 วัน ถึงตัดดอกขาย จึงควรใส่ปุ๋ยตามช่วงการเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้               - ช่วงเจริญเติบโตทางต้น คือ ช่วง 30 วันแรกนับจากเพาะเมล็ด ปุ๋ยที่ใช้คือปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพื่อเร่งให้ดาวเรืองเจริญเติบโตและแตกกิ่งให้เร็วที่สุด               - ช่วงออกดอก คือ ช่วงอายุ 30-45 วัน ดาวเรืองเริ่มมีตาดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 15-30-15 ถ้าไม่มีสามารถใช้สูตร 20-20-20 ได้ฝังลงดินห่างจากโคนต้น 1 คืบ ในอัตรา 1 ช้อนชาต่อต้น            3. การเด็ดยอด เป็นการเพิ่มผลผลิตที่ดีสำหรับผู้ที่ปลูกจำหน่าย โดยเด็ดส่วนยอดออกให้เหลือใบจริงติดไว้กับต้นเพียง 4 คู่ หรือ 8 ใบ เพื่อให้มีการแตกกิ่งข้างพร้อมๆกัน 8 กิ่ง วิธีการเด็ดยอด               1) เลือกต้นดาวเรืองที่มีอายุประมาณ 23-25 วัน เมื่อเลือกได้แล้ว ทำการเด็ดยอดโดยใช้มือรวบส่วนโ

การเก็บเกี่ยว

          ก่อนการตัดดอก ประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 15 ลิตร ฉีดไปที่ใบและก้าน เพื่อช่วยให้ก้านดอกดาวเรืองมีความแข็งแรงขึ้น และเมื่อถึงกำหนดตัดดอกควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุดจะทำให้ได้ก้านดอกมีขนาดยาว แหล่งที่มา : AGA AGRO. (2560). คู่มือเทคนิคการปลูกดาวเรืองตัดดอก . ค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2561, จาก              http://www.aga-agro.com/blog/read/164#.WqAa4m997IW. Satja Prasongsap. (2559). ดาวเรือง. ค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2561 , จาก   http://hort.ezathai.org/?p= 5446.

โรคและการป้องกันกำจัด

รูปภาพ
ภาพที่ 11 ดาวเรืองที่เป็นโรคเหี่ยว ( ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhBHLBP0MXzzbIpmJC5K7teq-lcdi1qXV4zpqoxHR2l0cUuwJ5653Hk1sPNMKZQQYeMnaSkdV4bkoojlnbhgYXmduRQD9bh-6SYsKi3PIazo4cyYDxJdZRJKjeKgwLZUb9u0cuoxh5CQY1o/s320/imagepost-20121118-161745.jpg)           1. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา จะเกิดกับดาวเรืองที่กำลังเริ่มบานจะมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ เช่น อาการเหี่ยวในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะมีอาการปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ดาวเรืองจะเหี่ยวทั้งต้นและตายในที่สุด                การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปสลับกับคาร์เบนดาซิม อัตราตามคำแนะนำบนฉลากสารเคมี และถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง ภาพที่ 12 ดาวเรืองที่เป็นโรคราแป้ง ( ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjLyKd-9gx6mUR0knj3pvfxUzOuQ5C6ikEF_2slEp3vJjuouGzI0ubNv2qyLPOkvTA63zU0lV4PF84jM57Te3ceCyoNF9SIy7tJ35hu3_2T5LsLcEbCxWFJMaoFEtU70vK3kZj3j-khDi-m/ s1600/DSCN0331_resize.JPG)           2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่

แมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

รูปภาพ
ภาพที่ 17 หนอนกระทู้หอม ( ที่มา : https://www.svgroup.co.th/wp-content/uploads/ 2017/09/% E 0% B 8% AB%E 0% B 8%99% E 0% B 8% AD%E 0% B 8%99% E 0% B 8%81% E 0% B 8% A 3% E 0% B 8% B 0% E 0% B 8%97% E 0% B 8% B 9% E 0% B 9%89% E 0% B 8% AB%E 0% B 8% AD%E 0% B 8% A 1% E 0% B 9%83% E 0% B 8%99% E 0% B 8%94% E 0% B 8% AD%E 0% B 8%81% E 0% B 8%94% E 0% B 8% B 2% E 0% B 8% A 7% E 0% B 9%80% E 0% B 8% A 3% E 0% B 8% B 7% E 0% B 8% AD%E 0% B 8%87. jpg)           1. หนอนกระทู้หอม จะทำลายดอกดาวเรืองที่กำลังจะเริ่มบาน หนอนเหล่านี้จะกัดกินดอกจนกลีบดอกร่วงเสียหาย              การป้องกันกำจัด พ่นสารเคมีเป็นจุดหรือพ่นรอบๆพื้นที่เสียหายและมีการตรวจสอบทุกระยะหากการทำลายยังมีอยู่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ภาพที่ 18 หนอนชอนใบ ( ที่มา : https://www.svgroup.co.th/wp-content/uploads/2017/09/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%A