โรคและการป้องกันกำจัด



ภาพที่ 11 ดาวเรืองที่เป็นโรคเหี่ยว
(ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhBHLBP0MXzzbIpmJC5K7teq-lcdi1qXV4zpqoxHR2l0cUuwJ5653Hk1sPNMKZQQYeMnaSkdV4bkoojlnbhgYXmduRQD9bh-6SYsKi3PIazo4cyYDxJdZRJKjeKgwLZUb9u0cuoxh5CQY1o/s320/imagepost-20121118-161745.jpg)


          1. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา จะเกิดกับดาวเรืองที่กำลังเริ่มบานจะมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ เช่น อาการเหี่ยวในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะมีอาการปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ดาวเรืองจะเหี่ยวทั้งต้นและตายในที่สุด
              การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปสลับกับคาร์เบนดาซิม อัตราตามคำแนะนำบนฉลากสารเคมี และถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง




ภาพที่ 12 ดาวเรืองที่เป็นโรคราแป้ง
(ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjLyKd-9gx6mUR0knj3pvfxUzOuQ5C6ikEF_2slEp3vJjuouGzI0ubNv2qyLPOkvTA63zU0lV4PF84jM57Te3ceCyoNF9SIy7tJ35hu3_2T5LsLcEbCxWFJMaoFEtU70vK3kZj3j-khDi-m/
s1600/DSCN0331_resize.JPG)


          2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งเป็นฝุ่นขาวๆ จะทำให้ใบดาวเรืองหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ดาวเรืองตายได้
              การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง


ภาพที่ 13 ดาวเรืองที่เป็นโรคดอกไหม้

(ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh7JbqrOAhsGCuhR_5_9ZEHsB94qLjGuDBXjUxmZj3vjixYgKazPctZDspKhDuixNEeO-zIwfQCMElgdCtMohAlaJqt754dRmGFgEcPUPB6yhwe4PNvDjOz6pVmY55kEH8mohyphenhyphen03F9uqMGJ/s1600/%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594.jpg)


          3. โรคดอกไหม้ เป็นเชื้อราที่เข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
               การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิลโดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง




ภาพที่ 14 ดาวเรืองที่เป็นโรคใบจุด
(ที่มา : http://www.allkaset.com/content/160220175108.jpg)


          4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา ALTERNARIA ทำให้ใบมีจุดสีขาว เป็นเหตุให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ใบจะค่อยๆแห้ง ต้นทรุดโทรม
              การป้องกันกำจัด ควรฉีดสารเคมีแอนทราโคล สลับกับสารกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม ฉีดพ่นสารเคมีทุก 5-7 วัน และคอยตรวจผลการใช้สารเคมีสม่ำเสมอ



ภาพที่ 15 ดาวเรืองที่เป็นโรคดอกเน่า
(ที่มา : http://www.allkaset.com/content/160220175107.jpg)

          5. โรคดอกเน่า เกิดจากเชื้อรา COLLETOTRICHUM SP. จะเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูม ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลและดอกไม่สามารถบานได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะทำให้กลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทางโคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น
              การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นสารเคมีคาร์เบนดาซิม ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ระวังอย่าให้น้ำดาวเรืองชุ่มเกินไปจะทำให้ดาวเรืองติดเชื้อราได้ง่าย หากดาวเรืองมีอาการให้เก็บและเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดไปยังดาวเรืองต้นอื่นๆ


ภาพที่ 16 ดาวเรืองที่เป็นโรคไส้กลวง
(ที่มา : https://scontent.fbkk17-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/21192789_1474242729333393_287314276590357563_n.jpg?_nc_cat=0&oh=07ea708a7fb1deb823d5aec18c155418&oe=5B54AAE7)

          6. โรคไส้กลวง จะมีลักษณะลำต้นผิดปกติ ใบล่างแห้งกรอบ ลำต้นเล็กลง ใบด้านบนจะชูขึ้น มียอดมาก แต่ไม่สามารถออกดอกได้
              การป้องกันกำจัด ควรปลูกดาวเรืองโดยยกแปลงให้สูงกว่าปกติ เพื่อให้รากระบายน้ำได้ดี ระยะของหลุมปลูก ควรห่างประมาณ 45 × 45 ซ.ม. ทำให้พุ่มโปร่งถ่ายเทอากาศได้สะดวก มีความแข็งแรง และควรให้ปุ๋ยที่มีโบรอนเดี่ยว รดที่โคนต้น หรือจะฉีดพ่นใบตามลักษณะอาการ


แหล่งที่มา :
ออลล์เกษตร. (ม.ป.ป.). โรคและแมลงศัตรูพืชของดาวเรือง. ค้นข้อมูล 15 มีนาคม 2561, จาก
          http://www.allkaset.com/contents/.

Satja Prasongsap. (2559). ดาวเรือง. ค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2561, จาก http://hort.ezathai.org/?p=5446.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชนิดของดาวเรือง

การเก็บเกี่ยว

ประวัติความเป็นมาของดาวเรือง

การใช้ประโยชน์

การดูแล

การขยายพันธุ์

แมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

วิธีการปลูก